0212 | National Internet Exchange India
Tuesday, July 28th, 2015 Posted in IP Network | No Comments »นั่งอ่านเรื่องอินเทอร์เน็ตแต่ละประเทศไปเรื่อยๆ พอดีไปเจอข้อมูลเกี่ยวกับ NIX (ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลภายในประเทศ) ของประเทศอินเดียมา น่าสนใจดี (สำหรับคนทำงานสายเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)
ข้อมูลทั่วไป
- NIXI ดำเนินการโดยรัฐบาลอินเดียเอง มี router อยู่หลายเขต (ตามขนาดประเทศ)
- การออกนโยบายคำนึงถึง 3 ข้อ
- ผู้ให้บริการรายใหญ่เป็นผู้ลงทุนโครงข่ายหลักๆ
- ผู้ให้บริการรายเล็กต้องไม่ถูกทอดทิ้ง หรือเอารัดเอาเปรียบ
- The policy should encourage domestic Content being hosted out of India (แปลแล้วแอบงง ว่าผลักดันให้ content ไปอยู่ต่างประเทศ???) แต่เป้าหมายคือทำให้ ISP ในอินเดียแปลงรูปแบบการเชื่อมต่อจากเช่าใช้ transit จากต่างประเทศ เป็นการเชื่อมต่อ peering ซึ่งมีราคาถูกกว่าแทน
- ISP เชื่อมต่อ BGP session หา router ของ NIXI (ตามรูปแบบของ NIX ปกติ)
- ISP ประกาศเฉพาะ IP ของตัวเองและลูกค้าตัวเองหา NIXI (ตามรูปแบบของ NIX ปกติ)
การคิดเงิน ตามการใช้งาน
- คิดจากส่วนต่างปริมาณการใช้งาน ระหว่างข้อมูลเข้ากับออก
- ถ้าออกมากกว่าเข้า (content อยู่เยอะ) ก็ได้ตัง ถ้าเข้ามากกว่าออก (customer อยู่เยอะ) ก็จ่ายตัง
- เรทอยู่ที่ 5 INR ต่อ 1 GByte ของส่วนต่าง traffic เข้าออก
- เช่น ISP A ส่งไปหา ISP B 100 GB แต่ ISP ส่งมาหา ISP A 5 GB หมายความว่า ISP B จะต้องจ่ายให้ ISP A 5 INR x (100 – 5) GB = 475 INR / ปัดเศษเป็น 500 INR (ประมาณ 250-280 บาท)
- แต่ !!! ถ้าฝั่ง ISP นั้นเป็น IDC คือมีแต่ traffic ขาออก (แทบไม่มีการใช้งานขาเข้า) จะ “ไม่ได้” ค่าส่วนต่างของ traffic นี้ (เสียแต่ค่าเชื่อมต่อเข้า NIXI)
- วิธีนับว่า ISP เป็น IDC คือ ดูสัดส่วน traffic ขาออก ต่อ traffic ขาเข้า ถ้ามากกว่า 5 : 1 ก็ถือว่าเป็น IDC
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
- ค่าแรกเข้า 1000 INR ต่อจุดเชื่อมต่อ
- ค่าสมาชิก 1000 INR ต่อปี
- ค่าเชื่อมต่อตามขนาด link “ต่อปี” ดังนี้
- 10 Mbps = 5,000 INR
- 100 Mbps = 100,000 INR (ทำไมมันโดดจังวะ)
- 1000 Mbps = 250,000 INR
- 2000 Mbps = 375,000 INR
- 10 Gbps = 500,000 INR (ปีละ 2.7 แสนบาท หรือเดือนละ 2 หมื่นกว่าบาทโดยประมาณ)
* แก้ไขใหม่ เมื่อกี้ดูตัวเลขผิด สรุปว่า 10 Gbps ถูกใช้ได้เลย เดือนละไม่กี่หมื่นบาทเอง สำหรับ IDC ฝั่ง content ไม่ต้องจ่ายค่า Data Transfer ด้วย (ตามเงื่อนไขด้านบน) ก็ทำให้ต้นทุนถูกลงไปอีก
ที่มา: Nixi
0205 | ปัญหาเน็ต AIS วันที่ 24 เม.ย. จากฝั่ง Network
Tuesday, April 28th, 2015 Posted in IP Network | No Comments »ทีแรกก็ขี้เกียจมานั่งสนใจนะฮะ พอดีไม่ได้รับผลกระทบ (ตอนล่มฟัดกับแมวอยู่) พอดีเห็นความเห็นในข่าว blognone สะกิดใจเลยมานั่งดู
อันนี้จากการ monitor ภายนอกนะครับ ไม่ใช่จากคนใน
วันที่ 24 เมษายน เวลาประมาณ 17.00 น. บน route monitor server พบการเปลี่ยนแปลงเส้นทางของ AS131445 (Advance Wireless Network) ประมาณนี้ครับ
- สภาวะปกติ AWN เชื่อมต่อภายในประเทศเข้าหา SBN NIX และ SBN IIG แยกกัน
- 17:00:35 เปลี่ยนแปลงเส้นทางภายในประเทศเป็น SBN NIX -> SBN IIG -> AWN
- 17:05:09 เปลี่ยนแปลงเส้นทาง “ภายในประเทศ”
- ส่วนที่ 1 เป็น SBN NIX -> Telcotech (KH) -> TeliSonera -> Flag Telecom -> Hutchison -> SBN IIG -> AWN
- ส่วนที่ 2 เป็น SBN NIX -> Telcotech (KH) -> PCCW -> TATA -> SBN IIG -> AWN
- ส่วนที่ 3 เป็น SBN NIX -> Telcotech (KH) -> Bharti Airtel (IN) -> SingTel -> SBN IIG -> AWN
- 17:08:38 เปลี่ยนแปลงเส้นทางภายในประเทศเป็น SBN NIX -> SBN IIG -> AWN
- 17:25:50 เปลี่ยนแปลงเส้นทางภายในประเทศเป็น SBN NIX -> AWN
- 17:28:45 เปลี่ยนแปลงเส้นทางภายในประเทศเป็น SBN NIX -> SBN IIG -> AWN
- 17:30:02 เปลี่ยนแปลงเส้นทางภายในประเทศเป็น SBN NIX -> AWN
- 17:54:40 ถอน routing ออกจากระบบ
- 17:58:27 ประกาศเส้นทางผ่าน SBN NIX -> SBN IIG -> AWN
- 17:59:28 ประกาศเส้นทางปกติ (SBN NIX -> AWN) กลับมาบางส่วน
- มีสลับไปๆ มาๆ สองเส้นทางนี้ + ถอน routing ด้วยอีกพักนึง
- 18:10:54 เปลี่ยนแปลงเส้นทางครั้งสุดท้ายใน log กลับมาเป็นปกติครบทุกเส้นทาง
log เต็มๆ มีเยอะกว่านี้อีกเยอะ ใครสนใจลองดูได้ตามนี้ครับ
สรุปคือมี ISP ทางฝั่งประเทศกัมพูชาตั้งค่า Routing ผิดบางส่วน+มีการตั้งค่าการ filter route ที่ฝั่ง SBN ที่เป็น Gateway ผิดพลาดด้วย ทำให้เส้นทางการเชื่อมต่อไปหา AIS วนอ้อมไปไม่รู้กี่ประเทศจนไม่สามารถใช้งานได้ครับ