0156 | 5 อาการติดอินเกรส
Monday, April 15th, 2013 Posted in Misc | No Comments »ก่อนอื่น คนที่ไม่รู้จักเกม Ingress แนะนำให้อ่านพวกนี้ก่อนครับ
- Blognone: Ingress เกมยึดโลกจาก Google
- Blognone: เริ่มต้นกับ Ingress – คู่มือสำหรับผู้เริ่มเล่นครั้งแรก
- Droidsans: Ingress – สงครามจารชนล่าล้างสมอง (ปฐมบท)
- Droidsans: Ingress (ป้จฉิมบท) วิธีการเล่น
เอาล่ะ เขียนหัวข้อมาแบบนี้นี่คงไม่ต้องบอกก็รู้กันว่าผมติดเกมนี้ไปแล้ว (ฮา) และเท่าที่สังเกตมา หลายๆ คนก็คงมีอาการแบบเดียวกันครับ ก็เลยเอามาเขียนเล่นเอาฮาซะหน่อย
- เห็นรูปปั้นหรือตึกแปลกๆ เป็น Portal ไปหมด แบบว่า Portal หรือที่เรียกว่าป้อมในเกมนี่มันมีเงื่อนไขอยู่นิดหน่อย คือต้องเป็นรูปปั้น อาคารแปลกๆ หรืออะไรพวกนั้นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะระดับหนึ่ง (เงื่อนไขเต็มๆ ดูได้ที่ http://support.google.com/ingress/answer/3066197?hl=en&ref_topic=2799270) เวลามองๆ ก็เลยพยายามเดาว่าตึกนี้น่าจะมี portal รึเปล่า
- ก้มหน้าก้มตาดูมือถือตัวเอง หันไปหันมา เดินวนไปวนมา แบบว่า gps มันก็ไม่ได้แม่นมาก (ฮา) และระยะที่หวังผล (ไม่ว่าจะไปตีป้อมชาวบ้านหรือยึดป้อม) มันก็มีจำกัด ทำให้คนพวกนี้จะทำตัวน่าสงสัยมาก ฮาๆ (ลองนึกภาพคนเดินวนไปวนมาจุดเดิมๆ แล้วก็มองแต่จอมือถือ พร้อมทำท่าหลุกหลิกเหมือนกำลังกลัวอะไรซักอย่าง นั่นแหละใช่เลย)
- แอบส่องคนที่เดินจิ้มมือถือ เอ๊ะ เค้าจะเล่นอินเกรสมั้ยนะ ถ้าเล่นแล้วเค้าอยู่ฝ่ายไหนนะ
แต่ถ้าเห็นว่าเป็นไอโฟนก็สะบัดบ๊อบหนีทันใดอาจถึงขั้นเหลือบมองจอได้เลยทีเดียว - ส่อง communication แล้วหันหาคน เวลามี portal ใกล้ๆ ตัวถูกตีถูกยึดจะมีชื่อคนที่ยึดขึ้นมาใน communication เราก็จะเริ่มส่องกันละว่าชื่ออะไร เป็นใคร อยู่ตรงไหน
- วางแผนการเดินทางอิงตาม intel โอ๊ะ วันนี้จะไปที่นั่น ไหนแอบดูซิทางไหน portal เยอะสุด อ้อมนิดอ้อมหน่อยก็ไม่เป็นไร (ฮา) ที่หมายมีกี่ portal ตอนนี้สีอะไร เลเวลอะไรแล้ว บลาๆๆๆ
Tags: ingress
0155 | 1 กิโลกรัมหนักเท่ากับอะไร?
Tuesday, April 2nd, 2013 Posted in Misc | No Comments »เคยสงสัยกันมั้ยครับว่าไอ้ 1 กิโลกรัมนี่มันมีที่มามาจากไหน? หน่วยกิโลกรัมถูกนิยามโดยหน่วยงานฝรั่งเศษที่ชื่อว่า Le Système international d’unités (International System of Unit) ที่คุ้นเคยกันดีในชื่อมาตรฐาน metric นั่นเองครับ
หน่วยงานนี้ได้กำหนดมาตรฐานของหน่วยวัดหลักๆ ไว้ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันก็เช่น ระยะทาง (เมตร) , น้ำหนัก (กิโลกรัม) , เวลา (วินาที) , กระแสไฟ (แอมแปร์) , อุณหภูมิ (เคลวิน) แล้วก็อีกหลายๆ อย่างครับ ทีนี้สำหรับหน่วยทั่วๆ ไปอย่างเช่นเวลาหรือระยะทางเนี่ย เป็นการกำหนดโดยการ “นิยาม” อ้างอิงจากค่าคงที่ต่างๆ เช่นเวลาก็เป็นจำนวนรอบการเปลี่ยนสถานะของอะคอมซีเซียม-133 ที่มีจำนวนครั้งแน่นอน หรือระยะทาง ก็ใช้นิยามจากสัดส่วนความเร็วแสงในสุญญากาศ ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นค่าคงที่เสมอ แต่สำหรับน้ำหนักเนี่ย ปัจจุบัน (อันที่จริงก็ตั้งแต่ปี 1889) เป็นการนิยามค่าโดยยึดตามมวลต้นแบบของตัวเทียบกิโลกรัม ที่เป็นวัตถุที่จับต้องได้ แล้วเกิดปัญหาว่า เมื่อเวลาผ่านไป นำมวลต้นแบบมาวัดค่าน้ำหนักเทียบกับของเดิมแล้วมวลเปลี่ยน ! ทำให้น้ำหนัก 1 กิโลกรัมจะเปลี่ยนแปลงไปเสมอ หรือถ้าทำมวลต้นแบบหายไปก็ซวยกันเลยทีเดียว… แถม มีหน่วยวัดอีกหลายอย่างที่อิงกับมวล 1 กิโลกรัม แม้แต่น้ำหนัก 1 ปอนด์ที่บางประเทศใช้อยู่ก็นิยามจากน้ำหนัก 1 กิโลกรัม (0.45359237 เท่าของ 1 กิโลกรัม) ก็เลยเกิดแนวคิดที่จะสร้างนิยามใหม่ขึ้นมาครับ