Archive for the ‘Misc’ Category

0185 | ประสบการณ์ Note 2 บอร์ดพังและการส่งซ่อม

Monday, August 4th, 2014 Posted in Misc | No Comments »

เรื่องสดๆ ร้อนๆ รีบเขียนก่อนที่จะลืมดีกว่าครับ

เมื่อเช้าการไฟฟ้าตัดไฟสิบโมงก็เลยตื่นขึ้นมาแบบเบลอๆ (นอนตีห้าเพราะอ่านนิยายเพลิน) หยิบมือถือมาเล่น ก็พบกับ note 2 ไฟโนติ กระพริบรัวๆ แต่กดอะไรก็เงียบ… ก็เลยถอดแบตเปิดใหม่… เงียบ

ไหนลองอีกที เสียบสายชาร์จจาก power bank (ไฟดับอยู่)

เงียบ…

เอ่อ…

ก็เลยได้หยิบ zenfone 4 ขึ้นมาใช้เป็นเครื่องหลักชั่วคราวกันก่อนเลยทีเดียวครับ ระหว่างนั้นก็ทวีตไปถาม @SamsungMobileTH แบบลมๆ แล้งๆ ไม่คิดว่าจะตอบเพราะเห็น last tweet มัน 30 ก.ค.แล้ว แต่ปรากฎว่าตอบมาด้วย โอ้ ! ก็เลยรีบเก็บข้าวของไปศูนย์เลย (ประเด็นคือยังไม่ได้กินข้าว)

ไปถึงศูนย์ก็กดคิวครับ … 7 คิว สบ๊ายยย (ยังไม่ได้กินข้าว) นั่งรอไม่นานก็ได้คิวส่งซ่อม พี่พนักงานเค้าก็เอาเครื่องไปให้ช่างทดสอบด้านหลัง แว๊บนึงแล้วก็ออกมาบอกว่า กระตุ้นด้วยไฟฟ้าไม่ติดคงต้องเปลี่ยนบอร์ดค่ะ (ปั๊มหัวใจกันเลยทีเดียว) แล้วก็พูดว่าอันนี้หมดประกันแล้วก็มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 5057 บาทนะคะ… เอาวะ เปลี่ยนก็เปลี่ยน ก็เลยถามเค้าว่านานมั้ยครับ…

“สองชั่วโมงค่ะ”

ห๊ะ…

ขณะนั้นเวลา 16.20 น. เค้าก็เลยบอกว่าประมาณ 18.30 น.ก็มารับเครื่องได้แล้วค่ะ จ่ายค่าเปลี่ยนตอนรับเครื่องนะคะ เราก็พยักหน้าหงึกๆ ด้วยความงง รับใบส่งซ่อมเครื่องมาเรียบร้อยแบบงงๆ เดินออกมาแบบงงๆ แล้วก็ไปหาข้าวกินแบบงงๆ

ทีแรกนึกว่าต้องทิ้งเครื่องไว้ซะแล้ว 18.30 มารับเครื่องก็ใช้งานได้เรียบร้อยครับ นี่ก็คืนชีพให้ note 2 เรียบร้อย อาการเดิมที่เครื่องหนืดๆ ก็หายไปด้วยเพราะถูก factory reset ไปเรียบร้อย ลงแอพใหม่หมด แบคองแบคอัพอะไรไม่มีเลย (เกม 2048 ที่เล่นค้างไว้ แง)

ก็เป็นประสบการณ์ดีๆ กับศูนย์บริการซัมซุงครับ ไม่ได้ประทับใจเวอร์ (แหง เสียตังค์) แต่ก็ไม่ได้ทำให้ผิดหวัง

0179 | รู้จักกับ RRLP: ระบบส่งพิกัดเครื่องลูกข่ายไปหาผู้ให้บริการ

Thursday, July 3rd, 2014 Posted in Misc | No Comments »

อันนี้เรียบเรียง (กึ่งๆ แปล) มาจาก Wikipedia นะครับ

RRLP หรือชื่อเต็มคือ Radio resource location services protocol เป็นมาตรฐานที่มีมาใน GSM / UMTS (ทั้ง 2G และ 3G) เพื่อให้เครื่องลูกข่าย (โทรศัพท์มือถือ) แจ้งพิกัดของตัวเองกลับไปให้ผู้ให้บริการได้โดยใช้เทคนิคต่างๆ ตามแต่อุปกรณ์แต่ละตัว มาตรฐานนี้ถูกตั้งขึ้นตามข้อกำหนดของการใช้งานหมายเลขฉุกเฉิน 911 ในสหรัฐอเมริกา โดยมีข้อกำหนดคือ

  • ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องระบุหมายเลข และเสาส่งสัญญาณที่ใช้ติดต่อกับเครื่องลูกข่ายภายใน 6 นาทีหลังจาก PSAP ขอข้อมูล
  • ผู้ให้บริการต้องระบุพิกัดของผู้ใช้โทรศัพท์ในรัศมีความแม่นยำ 300 เมตร ภายใน 6 นาทีหลังจาก PSAP ขอข้อมูล

มาตรฐาน RRLP ไม่มีการยืนยันตัวตนก่อนการขอใช้งาน ทำให้สามารถใช้ในลักษณะของการขอพิกัดของเครื่องลูกข่ายเป้าหมายใดๆ ตามกฎหมายก็ได้ และมาตรฐานนี้บังคับใช้งานในสหรัฐอเมริกาสมบูรณ์แล้วตั้งแต่ปี 2012

กระบวนการทั่วไปในการระบุพิกัดที่จะส่งให้ตาม RRLP มีทั้ง U-TDOA (หาพิกัดเครื่องจากความต่างสัญญาณที่สถานีฐานหลายๆ สถานีได้รับ) E-OTD (คำนวณสัญญาณที่เครื่องลูกข่ายได้รับ) รวมทั้ง GPS ที่เราคุ้นเคยกันดี และมีนักวิจัยชื่อ Harald Welte พบว่าสมาร์ทโฟนรุ่นสูงๆ หลายรุ่นใช้วิธีส่งพิกัด GPS กลับไปให้ผู้ให้บริการโดยที่ไม่มีการอนุญาตใดๆ จากผู้ใช้งาน

ปล. อันนี้ไม่เกี่ยวกับ AIS (เค้าบอกว่าใช้อีกเทคนิคที่เป็น vendor specific แต่การทำงานเป็นลักษณะเดียวกัน)