Archive for the ‘Linux’ Category

0180 | THZ Hosting Generation 6

Tuesday, July 22nd, 2014 Posted in Linux, Web Server | No Comments »

ทวีตไปแล้วก็มานั่งนับไปว่าตกลงมันเป็น generation ที่เท่าไหร่กันแน่วะ (ฮา) มาลองไล่กันดูดีกว่าว่ากว่าจะมาเป็น THZ hosting ทุกวันนี้ผ่านร้อนผ่านหนาวอะไรมาบ้าง

ยุคแรกสุดเลย ราวๆ 10 กว่าปีที่แล้ว สมัยนั้นอยู่กับ Pacific Internet (ชื่อในตอนนั้น) ตอนนั้นเริ่มต้นที่ Mandrake ที่ไปหาเรื่องเล่นมา แล้วเปลี่ยนสายมาเข้า Fedora ตัวแรกๆ ที่เล่นเป็น FC3 ตัวนี้เป็นตัวแรกที่เปิดรับลูกค้าครับ ซึ่งก็คือเพื่อนๆ กันนี่แหละ เว็บรันด้วย PHP-Nuke นี่มันโหดบัดซบบรรลัยมากกว่า WordPress ยุคนี้อีก ยุคแรกสุดนี้ config มือล้วนๆ เลยฮะ command line พรึบพรับทุกอย่าง การจัดการอะไรต้องให้เมลมาแล้วเรามาแก้ไป… ซึ่งสภาพตอนนั้นลูกค้า 7-8 รายก็ยังไหวอะนะ

ยุคที่ 2 ตอนนั้นต่อเนื่องมาครับ เจอ webmin + virtualmin สมัยเลข version ยังไม่ขึ้นเลข 1 ก็เลยเอามาลงเป็น control panel ให้สะดวกขึ้นอีกหน่อย แต่… UI มันกากบัดซบก็เลยใช้ได้ไม่นานเท่าไหร่

ยุคที่ 3 สารภาพว่าใช้ของเถื่อนครับ Plesk 7.0 ในตอนนั้น… ใช้แล้วชอบ ถูกใจ ติดตั้งง่าย ระบบผสานกับ OS ได้ดี UI ดูดีที่สุดในบรรดา software control panel ในยุคนั้นเลย (สมัยนั้น DirectAdmin ยังไม่เกิด)

ยุคที่ 4 จดทะเบียน THZ Hosting ครั้งแรก 25 เมษา 2005 (ก่อนหน้านี้ให้บริการในชื่อ hosting.icez.net มาโดยตลอด จนมีคนใน ThaiHostTalk ทัก) มีฟอร์มสมัครบริการจริงจัง แต่ระบบจัดการข้อมูลลูกค้ายังคงรันด้วยมือ (ฮา) ใช้ excel ครับ เสียดายทำไฟล์หายไปแล้ว เริ่มใช้สโลแกน “โฉบเฉี่ยวฉับไวบนโลกไซเบอร์” (และก็ยังใช้มาจนถึงทุกวันนี้)

ยุคที่ 5 ย้ายระบบจัดการลูกค้ามาเป็น WHMCS ครับ ด้วยคำแนะนำจากพี่ที่คุยงานกันมา คือมาถามๆ ว่าตัวนี้เป็นไงเคยใช้มั้ย ก็เลยไปหามาลอง (ก่อนหน้านี้เคยลอง AWBS / modern bill / ClientEXEC แล้วไม่ถูกใจซักตัว) ปรากฎว่าติดใจฮะ เลยกดสอยมาเลย

สุดท้าย ยุคปัจจุบัน เป็นการปรับโครงสร้าง server เข้าสู่ cloud มากขึ้น ตามความสามารถของ control panel (ยังคงเหนียวแน่นกับ Plesk — ซื้อ license แท้มาใส่ครบทุกเครื่องแล้วนะฮะ แพงชิบเป๋งเลย)

  • ลูกค้าไม่ต้องสนใจว่าอยู่ server ตัวไหน (ชี้ nameserver มาที่ระบบกลางได้เลย)
  • ระบบย้ายเครื่องทำงานได้แบบเนียนๆ (down ไม่เกิน 10 นาทีต่อข้อมูล 1 GB)
  • เปลี่ยน version PHP ได้ตามใจชอบ (มีให้เลือกตั้งแต่ 5.2 จนถึง 5.6)
  • ขอติดตั้ง module เพิ่มได้
  • เปิด ssh (chroot) / sftp access ให้ตั้งแต่ต้น
  • รัน PHP ด้วย FastCGI ไม่ต้อง chmod
  • จนล่าสุดก็คือการปรับโครงสร้าง server ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย SSD + ทนทานต่อการล่มมากขึ้นด้วยการทำ RAID + ข้อมูลบางส่วนอยู่ใน cloud storage ที่เป็นระบบเบื้องหลังของ cloud server ปัจจุบันครับ

กระบวนการเปลี่ยนแปลงพวกนี้ใช้เวลาเป็นปีๆ กว่าจะเรียบร้อย ยกเว้นยุค 2 ที่มาเร็วไปเร็วมาก (ฮา) นอกนั้นใช้อยู่เป็นปีๆ เลยครับกว่าหลายๆ อย่างจะลงตัว ความสามารถหลายๆ อย่างก็ได้มาเพราะ Plesk (ซึ่งเล็งๆ แล้วว่าถ้าว่างจะไปนั่งทำ Vesta CP ให้ได้ใกล้เคียงกัน)

ว่าแล้วก็ขายของ : สนใจ Web Hosting ลองรับ THZ Hosting ไว้พิจารณาด้วยนะครับ :)

0161 | Cloud ในชีวิตประจำวัน…

Thursday, June 13th, 2013 Posted in IP Network, Linux | No Comments »

ทุกวันนี้เวลาคนมาบอกว่าอยากได้ cloud นี่ผมจะชอบถามกลับมากๆ เลยครับว่า “อะไรคือ cloud”?

Cloud เนี่ย จริงๆ แล้วเกิดจากปัญหาพื้นฐานของคนเราอย่างนึงว่า เราไม่สามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเองแล้วคุ้มค่าพอ… ก็เลยต้องอาศัยการพึ่งพากันของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ โดยการสร้างผู้ให้บริการรายใหญ่ขึ้นมา มาให้บริการกับผู้ใช้บริการรายย่อยๆ อีกที

Cloud ในชีวิตประจำวันที่เห็นชัดเจนที่สุดคือร้านอาหาร… (โดยเฉพาะอาหารตามสั่ง) ครับ ปัจจัยคือการที่ถ้าเราตัวคนเดียวจะทำอาหารกินเอง จะเป็นการสิ้นเปลืองมาก ไหนจะซื้อวัตถุดิบ ปรุง ทำเสร็จกิน แล้วก็ต้องเก็บกวาด แถมวัตถุดิบทำอาหารส่วนมากก็ของสดที่เก็บได้ไม่นาน หมายความว่าซื้อมาตุนไม่ได้ ต้องซื้อให้พอทำกิน แถมซื้อมาแล้วบางทีทำกินได้สี่ห้ามื้อ (ใครมันจะอยากกินอาหารอย่างเดียวซ้ำๆ) แถมทำกินคนเดียวก็คงไม่ได้ทำกับข้าวหลายๆ อย่าง ก็เลยเกิดร้านอาหารขึ้น ในที่นี้ร้านอาหารก็คือ provider ที่ทำหน้าที่เตรียมทรัพยากร (วัตถุดิบปรุงอาหาร) เรามีหน้าที่แค่สั่งแล้วนั่งรอ ก็ได้กินอาหารพอสำหรับ 1 คนโดยที่ไม่เปลืองเงินมาก และหลากหลายไม่ซ้ำซากจำเจ

cloud เข้ามาช่วยลดต้นทุนของการสร้างโครงสร้างพื้นฐานลง พอเราไม่ต้องซื้อวัตถุดิบมาทำเอง ต้นทุนโดยรวมของเราก็ลดลง โดยเฉพาะเรื่องใหญ่ที่สุดคือต้นทุนด้านเวลา ทำอาหารมื้อนึงนี่กินเวลาเยอะนะครับ เทียบกับไปสั่งเค้าแล้วนั่งรอยังไงก็คุ้มกว่ากันเยอะ

แต่ที่สำคัญ… กรณีระบบโตถึงระดับนึงเนี่ย cloud จะไม่คุ้มทันทีครับ เช่นครอบครัว 4-5 คน การไปกินอาหารตามสั่ง สมมติจานละสามสิบก็ร้อยกว่าบาท… วันนึงสามมื้อก็เฉียดๆ สี่ร้อย ซื้อวัตถุดิบมาทำเองอาจประหยัดกว่ากันเยอะ บนระบบคอมพิวเตอร์ก็ไม่ต่างกันครับ ถ้าขยายมากๆ จะพบว่า ต้นทุนการใช้ cloud แพงกว่าการที่เราต้องซื้อ server เอง… ไม่นับกรณีที่เราไม่มีคนดูแลนะ เพราะค่าจ้าง system admin เก่งๆ ส่วนมากจะแพง :)

Read the rest of this entry »