0155 | 1 กิโลกรัมหนักเท่ากับอะไร?
Tuesday, April 2nd, 2013 Posted in Misc | No Comments »เคยสงสัยกันมั้ยครับว่าไอ้ 1 กิโลกรัมนี่มันมีที่มามาจากไหน? หน่วยกิโลกรัมถูกนิยามโดยหน่วยงานฝรั่งเศษที่ชื่อว่า Le Système international d’unités (International System of Unit) ที่คุ้นเคยกันดีในชื่อมาตรฐาน metric นั่นเองครับ
หน่วยงานนี้ได้กำหนดมาตรฐานของหน่วยวัดหลักๆ ไว้ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันก็เช่น ระยะทาง (เมตร) , น้ำหนัก (กิโลกรัม) , เวลา (วินาที) , กระแสไฟ (แอมแปร์) , อุณหภูมิ (เคลวิน) แล้วก็อีกหลายๆ อย่างครับ ทีนี้สำหรับหน่วยทั่วๆ ไปอย่างเช่นเวลาหรือระยะทางเนี่ย เป็นการกำหนดโดยการ “นิยาม” อ้างอิงจากค่าคงที่ต่างๆ เช่นเวลาก็เป็นจำนวนรอบการเปลี่ยนสถานะของอะคอมซีเซียม-133 ที่มีจำนวนครั้งแน่นอน หรือระยะทาง ก็ใช้นิยามจากสัดส่วนความเร็วแสงในสุญญากาศ ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นค่าคงที่เสมอ แต่สำหรับน้ำหนักเนี่ย ปัจจุบัน (อันที่จริงก็ตั้งแต่ปี 1889) เป็นการนิยามค่าโดยยึดตามมวลต้นแบบของตัวเทียบกิโลกรัม ที่เป็นวัตถุที่จับต้องได้ แล้วเกิดปัญหาว่า เมื่อเวลาผ่านไป นำมวลต้นแบบมาวัดค่าน้ำหนักเทียบกับของเดิมแล้วมวลเปลี่ยน ! ทำให้น้ำหนัก 1 กิโลกรัมจะเปลี่ยนแปลงไปเสมอ หรือถ้าทำมวลต้นแบบหายไปก็ซวยกันเลยทีเดียว… แถม มีหน่วยวัดอีกหลายอย่างที่อิงกับมวล 1 กิโลกรัม แม้แต่น้ำหนัก 1 ปอนด์ที่บางประเทศใช้อยู่ก็นิยามจากน้ำหนัก 1 กิโลกรัม (0.45359237 เท่าของ 1 กิโลกรัม) ก็เลยเกิดแนวคิดที่จะสร้างนิยามใหม่ขึ้นมาครับ