0007 | gzip compression กับการใช้งาน CPU
Sunday, May 4th, 2008 Posted in IP Network, PHP Coding, Web Server | 1 Comment »จาก entry ที่ 4 (รับมือเว็บ 250 req/sec) บัดนี้ผลการทดลองออกมาแล้วครับ
กราฟบน เป็นปริมาณ traffic
ส่วนกราฟล่าง เป็นปริมาณการใช้งาน CPU ครับ
ด้านการใช้งาน CPU สรุปได้สั้นๆ ง่ายๆ ว่า ไม่ต่าง…
แล้วตูจะปิด gzip ไปทำไมเนี่ย ในเมื่อกราฟบนมันบอกว่า
ปิด gzip ไปแล้ว เปลือง bandwidth ขึ้นตั้งสองเท่าแน่ะ
สังเกตตรงที่ลูกศรชี้นะครับ ตรงนั้นคือผมสั่งเปิดการทำงานของ gzip compression อีกรอบ
แล้วก็ลงมาดูกราฟ CPU ที่ตำแหน่งเดียวกัน ไม่เห็นมันจะเปลือง CPU มากขึ้นเลยซักนิด
ว่าแต่งานนี้คงต้อง compile PHP ใหม่ละมั้งนี่ เห้อ…
0004 | PHP Memory Limit
Saturday, May 3rd, 2008 Posted in PHP Coding | No Comments »Fatal error: Allowed memory size of 262144 bytes exhausted (tried to allocate 4864 bytes) in /path/to/script.php on line 1074
ข้อผิดพลาดนี้ (อันที่จริงก็ทุกอัน) คนทำเว็บคนไหนก็คงไม่ชอบให้มันขึ้นมาหรอกจริงมั้ยครับ
วันนี้จะมาอธิบายการทำงานของ memory limit นิดนึง…
การที่ error อันนี้ขึ้นมาเนี่ย มันกำลังพยายามบอกว่า
ก่อนหน้านี้ มีการขอใช้หน่วยความจำไปแล้วจนเกือบเต็ม 262144 byte (คือเหลือหน่วยความจำว่างๆ อีกไม่เยอะ)
แล้วมีการขอใช้เพิ่มอีก 4864 byte แต่พื้นที่หน่วยความจำที่เหลืออยู่ (ตามที่อนุญาตไว้) มีไม่พอให้ใช้
มันก็เลยต้องจบการทำงานลง เพราะหน่วยความจำหมด
นี่แหละครับคือหน้าที่ของ memory limit
ตัว memory limit มีไว้สำหรับจำกัดการใช้งานหน่วยความจำ ของ “ตัวแปร” ใน PHP ครับ
แบ่งเป็นตัวแปรจากระบบ (พวก $_SERVER $_GET $_POST $_ENV $_SESSION $_COOKIE)
พวกนี้กินอย่างมากก็ประมาณ 50 KB ครับ แล้วที่เหลือก็เป็นส่วนของการทำงานใน code ไป
เชื่อมั้ยครับว่าค่าที่เหมาะสมสำหรับเว็บทั่วไปอยู่ที่ “2M” เอง เพราะปกติเราก็ไม่ใช้อะไรเยอะแยะอยู่แล้ว
สำหรับเว็บที่มีการเรียกใช้ gd library (พวกที่มี captcha อะไรพวกนี้ด้วย) ควรปรับประมาณ 16-24 M
แล้วก็ เว็บฝากไฟล์…. ใช้เท่ากะเว็บปกติครับ (สำหรับส่วนของการ upload)
เนื่องจาก content ในไฟล์ ไม่ได้ถูกนำมาเก็บในหน่วยความจำครับ
ส่วนพวก CMS ต่างๆ เช่น joomla / mambo / phpnuke / wordpress / drupal พวกนี้ควรตั้งขั้นต่ำที่ 8M ครับ
แล้วก็พวก webboard เช่น SMF / IPB / vBullentin / phpBB ควรตั้งขั้นต่ำ 16M ครับ
แต่เอาเข้าจริง ถ้าใช้ไม่ถึงมันก็กินไม่เยอะ ค่าพวกนี้เป็นเพียงแค่การตั้งค่าสูงสุดที่อนุญาตเท่านั้นครับ
ส่วนสำคัญอยู่ที่การ optimize code ของเราให้ทำงานได้เร็ว และประหยัดหน่วยความจำได้มากที่สุดมากกว่า
แล้วถามว่า จะจำกัดไปทำไม ? แรมเหลือเฟือซะอย่าง ไม่กลัวอยู่แล้ว
ลองคิดดูนะครับ สมมติโปรแกรมเมอร์ต้องการลองของ เขียน code นี้ขึ้นมา
$test = “”;
while (1) {
$test .= “more”;
}
ถ้าเกิดไม่มี memory limit นี่เครื่องพังแน่นอนครับ (ใช้แรมเกิน)
แต่กรณีปกติที่อาจจะเกิด คือเขียน script วนซ้ำ แล้วเงื่อนไขการวนซ้ำผิดพลาด
ทำให้เกิดการวนซ้ำไม่รู้จบ (infinite loop) จนมีการจองหน่วยความจำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
แล้วสุดท้าย หน่วยความจำล้น (buffer overflow) เป็นเหตุให้โดน hack หรืออะไรต่างๆ ตามมาได้มากครับ
วิธีการตรวจสอบหน่วยความจำที่ใช้ไปแล้ว
ใน PHP จะมี function ตัวนึงครับ ไว้เรียกใช้เพื่อดูว่า
ตั้งแต่บรรทัดแรก จนถึง code บรรทัดที่เรียกคำสั่งนี้ ใช้ memory ไปแล้วเท่าไหร่
http://th.php.net/manual/en/function.memory-get-usage.php
ดูใน docs นะครับ ใช้ไม่ยากๆ
ปล. entry นี้อ้างอิงจากที่ > ThaiSEOBoard # ความงี่เง่าของ SLHost <
ปปล. entry นี้เขียน ปล. ก่อนเนื้อหาซะอีก
Tags: memory, optimize, PHP Coding