0208 | 10 ปี THZ Hosting : ภาพรวมธุรกิจ มุมมองตลาด และการเติบโต

ความจริงคือโดเมนมีอายุครบ 10 ปีตั้งแต่วันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมาแล้วครับ แต่เว็บ THZ Hosting พร้อมให้บริการจริงๆ ตั้งแต่ 25 พฤษภาคม 2548 วันนี้ก็ครบรอบ 10 ปี THZ Hosting พอดี (อุบส์ เค้ารู้หมดว่าเราแก่)

upic.me

จริงๆ แล้วผมไม่ได้เพิ่งมาเริ่มให้บริการในชื่อ THZ Hosting ตั้งแต่ต้นครับ ก่อนหน้านั้นใช้ชื่อ hosting.icez.net อยู่แป๊ปนึง (ตอนนี้เข้าไม่ได้แล้ว) แล้วมีคนในเว็บ ThaiHostTalk ทักมาว่าควรเป็นชื่อโดเมนหลักดีกว่า ก็เลยลองหาชื่อสั้นๆ เท่ๆ (ตามความคิดเด็กมัธยม) ก็เลยออกมาเป็นชื่อ THZ Hosting หรือ thzhost.com นี่เอง

เคยเขียนเรื่อง Generation ของ THZ Hosting ไปแล้วในentry เก่าๆ เป็นภาพรวมของฝั่ง Hosting ครับ วันนี้ผ่านร้อนผ่านหนาวมาครบสิบปี ถ้าเป็นคนก็ถึงวัยประถมปลายแล้ว ถ้าเป็นหมาก็แก่ใกล้ตายแล้ว (เอ๊ะ) ถ้ามองมุมธุรกิจ งานที่สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวมาได้สิบปีนี่ต้องแข็งแกร่งไม่น้อย ตรงนี้ต้องขอขอบพระคุณท่านผู้ใช้บริการทุกท่านเป็นอย่างสูงที่ร่วมผ่านร้อนผ่านหนาวกันมาครับ

ว่าด้วยเรื่องผ่านร้อนผ่านหนาว THZ Hosting เคยมีเหตุการณ์แบบที่ระบบพังยับอยู่หนึ่งครั้ง โดนเจาะเละเทะไปหนึ่งครั้ง ระบบเกือบพังยับอีกหนึ่งครั้งครับ สองครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนให้ยอมลงทุนกับระบบ backup ให้ดี ซึ่งก็ช่วยชีวิตทั้งลูกค้าทั้งตัวเองมาหลายครั้งแล้ว

ว่าด้วยเรื่องพังยับก่อนดีกว่า ตอนประมาณหน้าร้อนปี 2549 หรือ 2550 ช่วงนั้นยังมี hosting อยู่เครื่องเดียว เป็นเครื่องประกอบง่อยๆ ที่ของบก้อนแรกมาจากพ่อเฉียดห้าหมื่น (ปรากฎว่าทำไปทำมามันดันแพงกว่า brand name อีก) ให้บริการมาพักนึงแล้ว เหตุการณ์แรกสุดคือเนื่องด้วยตอนนั้นเครื่องประสิทธิภาพมันค่อนข้างต่ำ เลยอยากให้มันทำงานเร็วๆ ก็เลยใช้ raid 0 (นึกไปแล้วตอนนั้นก็กล้ามาก) ทีนี้ เหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นคือ power supply พัง เครื่องดับ จ่ายไฟไม่เข้า แล้วตอนนั้นอยู่ “หมู่เกาะสุรินทร์” จังหวัดพังงา (system admin จงจำไว้ server มันจะไม่พังถ้าคุณไม่ไปเที่ยว!) ห่างชายฝั่งสองชั่วโมง… เรือก็ไม่มี สัญญาณมือถือก็ง่อย เน็ต GPRS uplink ดาวเทียม ping 3000ms … ก็เลยต้องอาศัยพี่ตั้มแห่ง biggiantnetworkที่รับวางเครื่องให้ผมช่วยจัดหาและเปลี่ยน power supply ให้

ผ่านวันนั้นไป server ก็ทำงานได้เรียบร้อยดี แต่ปรากฎว่าเดือนต่อมา ประมาณสามทุ่มกว่าๆ server ดับ ขึ้น kernel panic not sync บวกกับอาการประมาณว่า harddisk detect ไม่เจอ 1 ลูก ให้เจ้าหน้าที่ที่ idc ตรวจสอบอาการแล้วไม่น่ารอด … คืนนั้นก็เลยจองตั๋วเครื่องบินบินด่วนจากภูเก็ตไปตอนห้าทุ่ม flight สุดท้าย ขึ้นกรุงซ่อม server (ขอบคุณพี่โดม แห่ง ThaiCyberGames ที่ช่วยในเรื่องการเดินทางด้วยครับ) พยายามกู้ข้อมูลตั้งแต่ตี 1 กว่าๆ จนถึงตี 4 ได้ซากง่อยๆ มาหน่อยนึง แต่ข้อมูลของลูกค้าหายหมด !!!

สรุปครั้งวินาศครั้งนั้นเป็นการชดเชยให้ผู้ใช้ทุกคนใช้ฟรีด้วยโปรที่ใช้บริการอยู่ตลอดชีพไป… ทุกวันนี้ก็ยังมีคนใช้งานสิทธิ์นี้อยู่นะครับ

ครั้งโดนเจาะเละเทะตอนนั้นปี 2553 สั้นๆ ก็คือมีบั๊ก local root exploit แล้วก็มีเว็บในเครื่อง share hosting เว็บนึงรั่ว (เครื่องเดียวกะด้านบน T_T) โดนเจาะเข้ามาได้แล้ว hacker ก็รัน exploit นี้เข้ามาเป็น root แก้ไฟล์หน้า index main home default ทั้งหมด แล้วก็ลบไฟล์/โฟลเดอร์ที่มีชื่อขึ้นต้นด้วย log ทั้งหมดทิ้ง ครั้งนั้นดีที่มีการ backup แล้วก็เลย restore backup ยาวๆ แล้วชดเชยให้ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้วยการต่ออายุให้ฟรีไปอีก 6 เดือน

ครั้งพังเกือบวินาศ เมื่อสี่ปีที่แล้ว (Dec 15, 2011) เริ่มต้นระบบ cloud ด้วย sheepdog storage cluster (ตอนนั้น version 0.2) ทดลองด้วย server 2 ตัวกับความรู้ด้าน cluster แบบงูๆ ปลาๆ ตอนนั้นดันหาเรื่องด้วยการเอา thzhost.com ไปไว้บนนั้นด้วย แล้วรันไปได้พักนึง เจอบั๊ก sheepdog พังเละเทะวินาศ ข้อมูลอ่านไม่ได้ ตอนนั้นคือร้องน้ำตาไหลเพราะข้อมูลลูกค้าทั้งหมดอยู่ในนั้น และ backup ก็ยังอยู่ในนั้นด้วย … ก็งมกับไล่ระบบการทำงานของ sheepdog ไปเรื่อยๆ จนสามารถแกะการตั้งค่า cluster ออก แล้ว merge data + บังคับให้มันรันแบบ stand alone แล้วทยอยอ่านข้อมูล vm ทั้งหมดออกมาได้สมบูรณ์ ตอนนั้นไม่ได้นอน 30 ชั่วโมงรวด… ลูกค้า cloud ยุคแรกก็ได้รับผลกระทบไปเต็มๆ เหมือนกัน โชคดีมากที่ข้อมูลไม่หาย

อยู่วงการ Hosting มาสิบกว่าปีแล้ว ก็เลยเจออะไรหลายๆ อย่างในงานสายนี้ครับ

  • ธุรกิจฝั่ง Infrastructure (Colocation / Data Center) แทบจะไม่มีโอกาสทำกำไรได้เยอะเลย — นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ THZ Hosting ไม่มีบริการ Colocation / Dedicated แต่เลือกให้บริการเป็น Cloud แทนครับ
  • ใครๆ ก็อยากทำ Hosting … ทุนไม่กี่บาทก็เปิดได้แล้ว แต่ถามก่อนว่าไอ้คนที่ทำอยู่มันยังอยากทำอยู่มั้ย — ขี่หลังเสือแล้วเลิกยากครับ
  • งาน Hosting ไม่ขึ้นกับสถานที่ ไม่มีวันหยุด server ทำงานทุกวัน คนเข้าเว็บทุกเวลา — เที่ยวได้แต่ต้องออนไลน์ได้ เน็ตเป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดของชีวิตคนทำ Host
  • ราคา Hosting เป็นตัวคัดกรองคุณภาพลูกค้าพอควร จะมีกลุ่มกลางๆ ที่ไม่เน้นถูก แต่ต้องการคุณภาพระดับที่คุ้มค่าต่อการจ่ายและไม่แพง ซึ่งกลุ่มนี้คุยรู้เรื่อง น่ารัก ชอบมาก
  • Web Hosting ขึ้นราคาตรงๆ ไม่ได้ และราคาโดยรวมมีแต่จะถูกลง คือลูกค้าใช้เท่าไหร่ก็ต้องจ่ายในราคาไม่เกินนั้นตลอด — ยกเว้นว่าถ้าลูกค้าใช้เกิน ต้องอัพเกรดตามการใช้งานก็อีกเรื่อง
  • วิธีขึ้นราคา Hosting โดยไม่ให้ลูกค้าเก่าได้รับผลกระทบคือ ยกเลิก package ถูกสุด แล้วเพิ่ม package แพงสุดอันใหม่ — สาเหตุเดียวกับการที่บัตรเครดิตมีบัตร Platinum, Ultra Platinum, Titanium, มงกุฎเพชรยอดทอง, บลาๆ
  • ด่า/ไล่ลูกค้าไม่ผิด … ถ้าเรามีเหตุผลรองรับที่หนักแน่น ชัดเจน และแจ้งอย่างเป็นทางการ ไม่ว่าจะก่อนหน้าหรือตามหลัง — แต่ต้องขอโทษลูกค้าที่โดนด่าเพราะผมหงุดหงิดด้วยครับ :( อันนี้ผมผิดจริง
  • Hosting ล่มไม่มีใครอยากให้เกิด แต่ถ้าลูกค้าติดต่อเราแล้วได้ข้อมูล ไม่หนีเงียบไปเลยก็ไม่ได้เป็นปัญหามาก — สิ่งสำคัญที่ลูกค้าอยากรู้ไม่ใช่เกิดอะไรขึ้น แต่เป็น ‘อีกนานมั้ยกว่าจะกลับมาใช้ได้’
  • งานหลักของคนทำ Hosting คืองานบริการ แต่งานเบื้องหลังที่ไม่ใช่บริการมีมากกว่าแค่การตั้งค่า server — การตลาด ขายของ จัดสรรทรัพยากร วางแผนการขยายระบบ การหาบริการเสริม (VAS) การทำบัญชี การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า
  • ความรู้ทุกเรื่องมีประโยชน์ อย่าคิดว่าจะทำ host โดยไม่สนใจวิชาธุรกิจ วิชาบัญชี — ทำแบบนี้เจ๊งกันไปหลายรายแล้ว
  • เคยมีคนเตือนว่าไม่ควรบอกเรื่องที่เรารู้ให้คนอื่น เพื่อสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ — พบว่าไม่ได้เป็นปัญหาเสมอไป อย่างข้อเมื่อกี้ ในเมื่อ Host ที่ดีไม่ได้เกิดจากแค่การ config server ที่ดี แต่การ config server ที่ดีช่วยลดปัญหาหลายๆ อย่างได้ แถมไม่ได้ลดแค่ตัวเราเอง เพราะโลกอินเทอร์เน็ตเชื่อมถึงกันหมด การเผยแพร่ความรู้หลายๆ อย่างก็ช่วยลดปัญหาโดยรวมได้ด้วย
  • จริงๆ แล้วเราไม่ได้บอกทุกเรื่องที่เรารู้ แต่เรื่องที่เรารู้มีเยอะกว่าที่เผยแพร่ไปมาก บวกกับหลายๆ เรื่องเราไม่รู้จะถ่ายทอดยังไงให้เข้าใจ
  • สุดท้ายแล้ว การสอนคนอื่น สิ่งที่ได้กลับมามากที่สุดคือความรู้ของเราเอง — กว่าจะสอนได้ 1 เรื่อง ต้องเตรียมเนื้อหาไปมากกว่าที่สอนไปหลายๆ เท่า ยากที่สุดก็ทำไงให้อธิบายแล้วคนที่อ่าน/ฟังเข้าใจได้นั่นแหละครับ
  • การบอกว่าสิ่งที่รู้มาเป็นข้อมูลจากที่อื่นเป็นเรื่องดี คนฟังจะเชื่อถือว่ามีการอ้างอิง — ส่วนการแอบอ้างเรื่องคนอื่นมาเป็นของตัวเอง คนที่รู้ที่มาเค้าจะหัวเราะเยาะเอา
  • คนส่วนใหญ่ไม่ชอบให้เราสอน ทั้้งๆ ที่เรายินดีสอนให้ฟรีๆ คุณได้ทั้งความรู้ แถมแก้ปัญหาได้ด้วย แต่ดันจะจ้างให้เราทำลูกเดียว — มาแบบนี้ส่วนใหญ่ก็บาย
  • ในขณะที่หลายๆ คนในวงการเป็นคู่แข่งกันโดยตรง (ขายสินค้า/บริการ) เดียวกัน แต่เรา (ผม) ไม่เคยมองเค้าเป็นศัตรู ถ้าติดต่อเข้ามาก็พร้อมให้ความช่วยเหลือ หลายๆ ครั้งยินดีช่วยฟรีด้วยซ้ำ
  • เรียนจบอะไรมาไม่สำคัญเท่ากับความพยายามครับ :)

ขอให้โชคดีมีชัยลูกค้าไม่หนีไปไหนในตลาด red ocean แห่งนี้ครับ

0207 | Mount Network Drive อัตโนมัติตอนเปิดเครื่อง

อันที่จริงมันจะไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ ถ้า mount ปกติเราสามารถจิ้มคลิกเอาบน my computer ได้เลยก็จริง แต่ด้วยสิทธิ์การใช้งานบน windows มันแยกเป็นหลายระดับมาก ประมาณนี้

  • Local user
  • Administrator
  • System Service

แล้วสิทธิ์การเข้าถึง network drive ของแต่ละระดับก็เป็นคนละตัวกัน เช่นตอน mount เราสั่งใน local user (จิ้มคลิกใน explorer ปกติ) เวลา elevated เป็น Administrator แล้วมันจะหา path ไม่เจอ (ฮ่วย)

แล้วก็ software server ปกติเราจะรันเป็น system service ถ้าต้อง access network drive มันจะหา path ไม่เจอ เพราะต้อง mount ด้วย system service ถึงจะเจอ (จะบ้าตาย) แล้วการ mount เป็น system service ไม่สามารถเซฟรหัสผ่านได้ (หรือเซฟได้แต่ทำผิดก็ไม่รู้) ก็เลยต้องมีทริคกันนิดหน่อยครับ ด้วย PowerShell

$User = “SERVER\username”
$PWord = ConvertTo-SecureString –String “**************” –AsPlainText -Force
$Credential = New-Object –TypeName System.Management.Automation.PSCredential –ArgumentList $User, $PWord
New-PSDrive -Name Z -PSProvider FileSystem -Root “\SERVER\SHAREPATH” -Credential $Credential

เซฟไอ้ด้านบนนี้เป็นไฟล์ชื่อ mount.ps1 ไว้ใน c:\ แก้ไข username, ***, SERVER\SHAREPATH ให้เรียบร้อย แล้วเปิด Group Policy Editor (run > gpedit.msc) แล้วเข้าตามนี้

group policy editor

double click “Startup” ด้านขวา แล้วกดเข้าหน้า power shell แล้วกรอกตามนี้

add script

จบ

เกลียดแม่ง !

Tags: , ,