Archive for July, 2014

0180 | THZ Hosting Generation 6

Tuesday, July 22nd, 2014 Posted in Linux, Web Server | No Comments »

ทวีตไปแล้วก็มานั่งนับไปว่าตกลงมันเป็น generation ที่เท่าไหร่กันแน่วะ (ฮา) มาลองไล่กันดูดีกว่าว่ากว่าจะมาเป็น THZ hosting ทุกวันนี้ผ่านร้อนผ่านหนาวอะไรมาบ้าง

ยุคแรกสุดเลย ราวๆ 10 กว่าปีที่แล้ว สมัยนั้นอยู่กับ Pacific Internet (ชื่อในตอนนั้น) ตอนนั้นเริ่มต้นที่ Mandrake ที่ไปหาเรื่องเล่นมา แล้วเปลี่ยนสายมาเข้า Fedora ตัวแรกๆ ที่เล่นเป็น FC3 ตัวนี้เป็นตัวแรกที่เปิดรับลูกค้าครับ ซึ่งก็คือเพื่อนๆ กันนี่แหละ เว็บรันด้วย PHP-Nuke นี่มันโหดบัดซบบรรลัยมากกว่า WordPress ยุคนี้อีก ยุคแรกสุดนี้ config มือล้วนๆ เลยฮะ command line พรึบพรับทุกอย่าง การจัดการอะไรต้องให้เมลมาแล้วเรามาแก้ไป… ซึ่งสภาพตอนนั้นลูกค้า 7-8 รายก็ยังไหวอะนะ

ยุคที่ 2 ตอนนั้นต่อเนื่องมาครับ เจอ webmin + virtualmin สมัยเลข version ยังไม่ขึ้นเลข 1 ก็เลยเอามาลงเป็น control panel ให้สะดวกขึ้นอีกหน่อย แต่… UI มันกากบัดซบก็เลยใช้ได้ไม่นานเท่าไหร่

ยุคที่ 3 สารภาพว่าใช้ของเถื่อนครับ Plesk 7.0 ในตอนนั้น… ใช้แล้วชอบ ถูกใจ ติดตั้งง่าย ระบบผสานกับ OS ได้ดี UI ดูดีที่สุดในบรรดา software control panel ในยุคนั้นเลย (สมัยนั้น DirectAdmin ยังไม่เกิด)

ยุคที่ 4 จดทะเบียน THZ Hosting ครั้งแรก 25 เมษา 2005 (ก่อนหน้านี้ให้บริการในชื่อ hosting.icez.net มาโดยตลอด จนมีคนใน ThaiHostTalk ทัก) มีฟอร์มสมัครบริการจริงจัง แต่ระบบจัดการข้อมูลลูกค้ายังคงรันด้วยมือ (ฮา) ใช้ excel ครับ เสียดายทำไฟล์หายไปแล้ว เริ่มใช้สโลแกน “โฉบเฉี่ยวฉับไวบนโลกไซเบอร์” (และก็ยังใช้มาจนถึงทุกวันนี้)

ยุคที่ 5 ย้ายระบบจัดการลูกค้ามาเป็น WHMCS ครับ ด้วยคำแนะนำจากพี่ที่คุยงานกันมา คือมาถามๆ ว่าตัวนี้เป็นไงเคยใช้มั้ย ก็เลยไปหามาลอง (ก่อนหน้านี้เคยลอง AWBS / modern bill / ClientEXEC แล้วไม่ถูกใจซักตัว) ปรากฎว่าติดใจฮะ เลยกดสอยมาเลย

สุดท้าย ยุคปัจจุบัน เป็นการปรับโครงสร้าง server เข้าสู่ cloud มากขึ้น ตามความสามารถของ control panel (ยังคงเหนียวแน่นกับ Plesk — ซื้อ license แท้มาใส่ครบทุกเครื่องแล้วนะฮะ แพงชิบเป๋งเลย)

  • ลูกค้าไม่ต้องสนใจว่าอยู่ server ตัวไหน (ชี้ nameserver มาที่ระบบกลางได้เลย)
  • ระบบย้ายเครื่องทำงานได้แบบเนียนๆ (down ไม่เกิน 10 นาทีต่อข้อมูล 1 GB)
  • เปลี่ยน version PHP ได้ตามใจชอบ (มีให้เลือกตั้งแต่ 5.2 จนถึง 5.6)
  • ขอติดตั้ง module เพิ่มได้
  • เปิด ssh (chroot) / sftp access ให้ตั้งแต่ต้น
  • รัน PHP ด้วย FastCGI ไม่ต้อง chmod
  • จนล่าสุดก็คือการปรับโครงสร้าง server ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย SSD + ทนทานต่อการล่มมากขึ้นด้วยการทำ RAID + ข้อมูลบางส่วนอยู่ใน cloud storage ที่เป็นระบบเบื้องหลังของ cloud server ปัจจุบันครับ

กระบวนการเปลี่ยนแปลงพวกนี้ใช้เวลาเป็นปีๆ กว่าจะเรียบร้อย ยกเว้นยุค 2 ที่มาเร็วไปเร็วมาก (ฮา) นอกนั้นใช้อยู่เป็นปีๆ เลยครับกว่าหลายๆ อย่างจะลงตัว ความสามารถหลายๆ อย่างก็ได้มาเพราะ Plesk (ซึ่งเล็งๆ แล้วว่าถ้าว่างจะไปนั่งทำ Vesta CP ให้ได้ใกล้เคียงกัน)

ว่าแล้วก็ขายของ : สนใจ Web Hosting ลองรับ THZ Hosting ไว้พิจารณาด้วยนะครับ :)

0179 | รู้จักกับ RRLP: ระบบส่งพิกัดเครื่องลูกข่ายไปหาผู้ให้บริการ

Thursday, July 3rd, 2014 Posted in Misc | No Comments »

อันนี้เรียบเรียง (กึ่งๆ แปล) มาจาก Wikipedia นะครับ

RRLP หรือชื่อเต็มคือ Radio resource location services protocol เป็นมาตรฐานที่มีมาใน GSM / UMTS (ทั้ง 2G และ 3G) เพื่อให้เครื่องลูกข่าย (โทรศัพท์มือถือ) แจ้งพิกัดของตัวเองกลับไปให้ผู้ให้บริการได้โดยใช้เทคนิคต่างๆ ตามแต่อุปกรณ์แต่ละตัว มาตรฐานนี้ถูกตั้งขึ้นตามข้อกำหนดของการใช้งานหมายเลขฉุกเฉิน 911 ในสหรัฐอเมริกา โดยมีข้อกำหนดคือ

  • ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องระบุหมายเลข และเสาส่งสัญญาณที่ใช้ติดต่อกับเครื่องลูกข่ายภายใน 6 นาทีหลังจาก PSAP ขอข้อมูล
  • ผู้ให้บริการต้องระบุพิกัดของผู้ใช้โทรศัพท์ในรัศมีความแม่นยำ 300 เมตร ภายใน 6 นาทีหลังจาก PSAP ขอข้อมูล

มาตรฐาน RRLP ไม่มีการยืนยันตัวตนก่อนการขอใช้งาน ทำให้สามารถใช้ในลักษณะของการขอพิกัดของเครื่องลูกข่ายเป้าหมายใดๆ ตามกฎหมายก็ได้ และมาตรฐานนี้บังคับใช้งานในสหรัฐอเมริกาสมบูรณ์แล้วตั้งแต่ปี 2012

กระบวนการทั่วไปในการระบุพิกัดที่จะส่งให้ตาม RRLP มีทั้ง U-TDOA (หาพิกัดเครื่องจากความต่างสัญญาณที่สถานีฐานหลายๆ สถานีได้รับ) E-OTD (คำนวณสัญญาณที่เครื่องลูกข่ายได้รับ) รวมทั้ง GPS ที่เราคุ้นเคยกันดี และมีนักวิจัยชื่อ Harald Welte พบว่าสมาร์ทโฟนรุ่นสูงๆ หลายรุ่นใช้วิธีส่งพิกัด GPS กลับไปให้ผู้ให้บริการโดยที่ไม่มีการอนุญาตใดๆ จากผู้ใช้งาน

ปล. อันนี้ไม่เกี่ยวกับ AIS (เค้าบอกว่าใช้อีกเทคนิคที่เป็น vendor specific แต่การทำงานเป็นลักษณะเดียวกัน)