0145 | ตั้งค่า zabbix เบื้องต้นคร่าวๆ
Monday, January 28th, 2013 Posted in IP Network, Linux, Web Server | 1 Comment »ต่อเนื่อง(กันแบบห่างไกลสุดกู่)จาก entry ที่แล้ว (ติดตั้ง zabbix server บน centos) คราวนี้จะมาเริ่ม config กันจริงๆ จังๆ ละนะครับ อุอิ (ส่วนที่ค้างดองนานๆ ก็ช่างแม่งไปก่อนละกัน)
หลังจากที่เข้า http://IP/zabbix/ ครั้งแรก มันจะ check การตั้งค่า php หลักๆ ก็ post_max_size , max_execution_time , max_input_time ที่ต้องแก้ แล้วก็กรอกข้อมูล database กับ zabbix server ซึ่งก็ไม่ลำบากเท่าไหร่ เหมือนกับติดตั้ง CMS ทั่วๆ ไป ข้ามไปเลยนะครับ (จริงๆ คือลงเสร็จแล้ว แล้วเพิ่งนึกได้ว่าลืม capture หน้าจอ แถหน้าด้านๆ เลยละกัน)
User แรกสุดในระบบคือ admin รหัสผ่านคือ zabbix ครับ login เข้าไปได้เลย แล้วก็มาเริ่ม config กันดีกว่า
Tags: configuration, install, monitor, zabbix
0144 | Enigma code และช่องโหว่ของมัน
Wednesday, January 16th, 2013 Posted in Misc | No Comments »บังเอิญเจอคลิปจาก channel numberphile ใน youtube มาครับ (เป็น subscriber ของ channel นี้อยู่ ดูเพลินดี) พอดีเค้าอัพคลิปเรื่องเครื่อง Enigma นี้ขึ้นมาพอดี ก็เลยเอามาแปะกันครับ
เกริ่นคร่าวๆ ก่อน เจ้าเครื่อง Enigma นี่เป็นเครื่องที่เกิดขึ้นมาในสมัยสงครามโลกครับ ด้วยความที่ต้องป้องกันการถูกดักฟัง ข้อความทั้งหมดที่ส่งกันไปส่งกันมาก็เลยต้องเข้ารหัส ทีนี้ก็มีการเข้ารหัสหลายๆ วิธีเกิดขึ้นมา ศาสตร์แห่งการเข้ารหัสก็พัฒนาอย่างมากกันในช่วงนี้แหละครับ ไอ้อะไรหลายๆ อย่างที่เราใช้เข้ารหัสกันทุกวันนี้บางส่วนก็ยังคงเป็นมรดกตกทอดจากยุคสงครามโลกอยู่เลยก็มี
เข้าเรื่อง ไอ้เครื่อง Enigma นี่มันจะไว้เข้ารหัสโดยการแทนที่ตัวอักษรแบบผันแปรครับ คือตัวอักษรเดิม ถ้าเรากดซ้ำๆ ข้อความที่ได้จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เช่นข้อความต้นแบบคือ aaaaa เวลาเข้ารหัสแล้วอาจออกมาเป็น iudgh อะไรแบบนี้ (อันนี้มั่วมานะ) โดยใช้ jumper ในการเชื่อมสลับคู่ตัวอักษรทั้ง 26 ตัว และแกนหมุน 3 หลักที่ช่วยให้ตัวอักษรหมุนเวียนไปไม่ซ้ำกันเพื่อให้ถอดรหัสได้ยากถ้าไม่รู้การตั้งค่าเริ่มต้นที่ถูกต้องทั้งหมด
พูดไปอาจจะนึกไม่ออก ลองดูคลิปนี้เลยดีกว่าครับ
ทีนี้ ปัญหาของ enigma code นี่มันคือ การที่ตัวอักษรต้นฉบับตัวเดิม จะไม่ได้ถูกแทนที่ด้วยตัวอักษรปลายทางเดิมเสมอเนี่ย มันมีช่องโหว่ว่า มันจะไม่มีวันแทนที่กลับมาเป็นตัวเองโดยเด็ดขาด ถ้ารู้ข้อความต้นฉบับเพียงบางส่วน (อาจจะแค่ 7-8 ตัวอักษร) ก็จะสามารถคำนวณหาค่าตั้งต้นสำหรับชุดคำนั้นได้โดยการทาบข้อความต้นฉบับกับข้อความที่เข้ารหัสแล้ว แล้วไล่ไปเรื่อยๆ ครับ ดูคลิปเลยดีกว่า
ในคลิปมีพูดถึงบุคคลสำคัญของคนที่ทำงานสายคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งอยู่ด้วยคนนึงครับ เค้าคือ Alan Turing … ประวัติเป็นไงไปอ่านต่อใน wikipedia ละกันนะครับ (ตึ่ง!)